วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553








รัฐสภาไทย
บทบาทรัฐสภา
มาตรา ๘๘ รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้

มาตรา ๘๙ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน
ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับ
ประธานรัฐสภาและผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
รองประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และตามที่ประธานรัฐสภามอบหมาย

มาตรา ๙๐ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำ แนะนำ และยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือถือเสมือนว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

มาตรา ๙๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๖ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๑๐) หรือ (๑๑) หรือมาตรา ๑๑๙ (๓) (๔) (๕) (๗) หรือ (๘) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง

มาตรา ๙๒ การออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาภายหลังวันที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง หรือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง ย่อมไม่กระทบกระเทือนกิจการที่สมาชิกผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่สมาชิกรวมทั้งการได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นก่อนที่สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง หรือก่อนที่ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งหรือสรรหามาโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว

อำนาจหน้าที่
ด้านนิติบัญญัติ
1. การเสนอร่างกฎหมาย
1.1 การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา 139)
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
1.2 การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (มาตรา 142)
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
(3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ
(4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา 163 (เฉพาะหมวด 3 และหมวด 5)

2. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเสนอ (มาตรา 163 วรรคสี่)
2.1 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติ
2.2 คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จองจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด

3. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย (หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ มาตรา 166 - 170)


4. การพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด
กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญขงพระราชกำหนดอย่างเคร่งครัด (มาตรา 185)

5. การให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจาก (มาตรา 291 (1))
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ประการสำคัญ การพิจารณาในวาระที่สอง ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย

โครงสร้างของรัฐสภา

1. รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (มาตรา 88)
รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้

2. ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา (มาตรา 89)
ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน
ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับ
ประธานรัฐสภาและผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
รองประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ และตามที่ประธานรัฐสภามอบหมาย

3. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยหรือถือเสมือนว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป (มาตรา 90)

4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๖ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๑๐) หรือ (๑๑) หรือมาตรา ๑๑๙ (๓) (๔) (๕) (๗) หรือ (๘) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ (มาตรา 91)
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง

5. การออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาภายหลังวันที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง หรือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง ย่อมไม่กระทบกระเทือนกิจการที่สมาชิกผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่สมาชิกรวมทั้งการได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นก่อนที่สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง หรือก่อนที่ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งหรือสรรหามาโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว (มาตรา 92)


ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ชื่อ-สกุล นายชัย ชิดชอบ

วันเดือนปีเกิด
๕ เมษายน ๒๔๗๑

การศึกษา
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราคำแหง
ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์
สถานที่ติดต่อ
บ้านเลขที่ ๓๐/๑ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ ๓๑๐๐๐
โทรศัพท์ : ๐ ๔๔๖๑ ๔๔๓๑
โทรสาร : ๐ ๔๔๖๑ ๔๔๓๑
อีเมล์ : -

อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้งครั้งนี้
นักการเมือง

ประสบการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ.๒๕๑๒,๒๕๒๒,๒๕๒๖,๒๕๒๙,๒๕๓๕,๒๕๓๘,๒๕๓๙
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พ.ศ.๒๕๔๘
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.๒๕๔๙
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.๒๕๕๑
ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
มหาวชิรมงกุฎ


รองประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา
นายประสพสุข บุญเดช

ทำเนียบประธานรัฐสภา
๒๘. นายชัย ชิดชอบ
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑


๒๗.นายยงยุทธ ติยะไพรัช
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ - เมษายน ๒๕๕๑


๒๖.นายโภคิน พลกุล
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๘ มีนาคม ๒๕๔๘ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙


๒๕.นายพิชัย รัตตกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๓ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓


๒๔.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ - ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๓


๒๓.นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๑๑ กรกฏาคม ๒๕๓๘ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๘


๒๒.ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๒ กันยายน ๒๕๓๕ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘


๒๑.นายมีชัย ฤชุพันธ์
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๕ ประธานวุฒิสภา ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙ ๖ เมษายน ๒๕๓๙ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๓


๒๐.ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔


๑๙.ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๓๐ เมษายน ๒๕๒๗ - ๓๐ เมษายน ๒๕๒๘ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๘ - ๒๓ เมษายน ๒๕๓๐ ๒๔ เมษายน ๒๕๓๐ - ๒๒ เมษายน ๒๕๓๒ ๓ เมษายน ๒๓๓๕ - ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒ เมษายน ๒๕๓๔ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๕


๑๘.นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๗


๑๗.พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐ ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ - ๒๒ เมษายน ๒๕๒๒ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๖


๑๖.พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๙


๑๕.นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๑๙ เมษายน ๒๕๑๙ - ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ - ๕ มกราคม ๒๕๔๘


๑๔.นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ -๑๒ มกราคม ๒๕๑๙


๑๓.นายประภาศน์ อวยชัย
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๗ - ๒๕ มกราคม ๒๕๑๘


๑๒.พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๖ -๗ ตุลาคม ๒๕๑๗


๑๑.พลตรีศิริ สิริโยธิน
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๑๘ ธันวามคม ๒๕๑๕ - ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๖


๑๐.พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๑๑ - ๖ กรกฏาคม ๒๕๑๔ ๗ กรกฏาคม ๒๕๑๔ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔


๙. นายทวี บุญยเกตู
ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๘ พฤษภาคม๒๕๑๑ -๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑


๘.พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๒๐ กันยายน ๒๕๐๐ - ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๐ ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ - ๑๗ เมษายน ๒๕๑๑


๗.พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๑ ธันวาคม ๒๔๙๔ - ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๕ ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๕ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๕ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๙๕ -๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๖ ๒ กรกฏาคม ๒๔๙๖ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๗ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๗ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๘ ๒ กรกกาคม ๒๔๙๘ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๙ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๙ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๐ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๐ - ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๑ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๑ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑


๖. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา ๔ มิถุนายน ๒๔๘๙ - ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๙


๕.พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๓ สิงหาคม ๒๔๗๙ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๑ ๒๘ มิถุยายน ๒๔๘๑ - ๑๐ ธันวามคม ๒๔๘๑ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๑ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๘๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓ ๑ กรกฏาคม ๒๔๘๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔ ๑ กรกฏาคม ๒๔๘๔ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๘๕ - ๒๔ มิถุนายน ๒๕๘๖ ๒ กรกฏาคม ๒๔๘๗ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๘ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๘ - ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๘ ๒๖ มกราคม ๒๔๘๙ - ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙


๔. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิต ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ - ๑๕ ธันวาคม ๒๔๗๗ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๗ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๘ ๗ สิงหาคม ๒๔๗๘ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๙ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ - ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ - ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๒ ๑๕ มิถุยายน ๒๔๙๒ - ๒๐ พศจิกายน ๒๔๙๓ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔


๓.พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖ - ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ ๖ กรกฏาคม ๒๔๘๖ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๗ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๙ - ๙ พฤษภาคม ๒๔๙๐ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๐ - ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐


๒. เจ้าพระยาพิชัยญาติ
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร ๒ กันยายน ๒๔๗๕ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๖


๑. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๒๘ มิถุนายน - ๑ กันยายน ๒๔๗๕ ๑๕ ธันวาคม - ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖


กฎหมายและระเบียบ

ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล และสงเคราะห์ครอบครัว กรณีผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาถึงแก่กรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖

พระราชกฤษฎีกา กำหนดการแต่งกายของผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้าแต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะใช้เครื่องแบบราชการ พ.ศ. ๒๔๙๙

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การปรับปรุงราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๘ - ๒๕๕๐

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๑

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่ง ช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไท

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖

พระราชบัญญัติ เหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิพาลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗

พระราชบัญญัติ เหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิพาลา (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๔๘๕

พระราชบัญญัติ เหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิพาลา พ.ศ. ๒๔๘๔

พระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๔๘๔

พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก พ.ศ. ๒๔๘๔

กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒

ข้อบังคับของรัฐสภาว่าด้วยเครื่องแบบสมาชิกรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒

ข้อบังคับของรัฐสภาว่าด้วยเครื่องแบบสมาชิกรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙

ข้อบังคับของรัฐสภาว่าด้วยเครื่องแบบสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๒๖

ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล และสงเคราะห์ครอบครัว กรณีผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาถึงแก่กรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕

ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล และสงเคราะห์ครอบครัว กรณีผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๔๔

ระเบียบว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖

ระเบียบว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น